หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาระหว่างประเทศ


ภาษาไทย: หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาระหว่างประเทศ
ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Arts Program in International Development

ภาษาไทย: ชื่อเต็ม : ศิลปศาสตรบัณฑิต (การพัฒนาระหว่างประเทศ)
ชื่อย่อ : ศศ.บ. (การพัฒนาระหว่างประเทศ)
ภาษาอังกฤษ: ชื่อเต็ม : Bachelor of Arts (International Development)
ชื่อย่อ : B.A. (International Development)

ปรัชญาของหลักสูตร
หลักสูตร ศศ.บ.(การพัฒนาระหว่างประเทศ) สำนักวิชานวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ตระหนักในความสำคัญของการมีบุคลากรที่มีความรู้รอบ และรู้จริง ตลอดจนมีความสามารถและความตั้งใจจริงที่มุ่งแก้ปัญหาความเป็นอยู่ (livelihood) ของมนุษยชาติอย่างยั่งยืน ในองค์การและโครงการพัฒนาต่าง ๆ ตามแนวทางของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (Sustainable Developments Goals-SDGs) ทั้งในระดับนานาชาติ ระดับชาติ และระดับท้องถิ่น จึงมีความมุ่งหมายในการผลิตบัณฑิตที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการดังกล่าว ทั้งนี้ หลักสูตรคำนึงถึง MFU-ID  ได้แก่ การสร้างความรู้ความชำนาญ (Mastering) การพัฒนาให้เติบโต (Fostering) อรรถประโยชน์ของแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Utility of sustainable development) การไม่ทอดทิ้งผู้ใดไว้ข้างหลังในกระบวนการพัฒนา (Inclusiveness) และ ความหลากหลายที่ปรากฏอยู่ในกระบวนการพัฒนา (Diversity) เพื่อนำไปสู่การบ่มเพาะบุคลิกของนักปฏิบัติด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนที่น่าเชื่อถือซึ่งประกอบด้วยลักษณะของ “ผู้ปฏิบัติงานด้านการพัฒนาระหว่างประเทศที่อ่านปัญหาออก บอกวิธีแก้ได้ ใช้เครื่องมือเป็น มองเห็นโอกาสเสมอ”

ในอันที่จะบรรลุภารกิจนั้นได้ หลักสูตรจึงเลือกใช้แนวทางของปรัชญาการศึกษาแบบมุ่งเน้นกระบวนการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) ผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบมุ่งผลลัพธ์ (Outcome-based learning) และการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) ที่ใช้การจัดการความรู้ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เข้าใจและสามารถบูรณาการต้นทุนความรู้ของตนเองเข้ากับความรู้ใหม่ที่ได้รับจากกระบวนการสนับสนุนการเรียนรู้ของหลักสูตรและคณาจารย์ ควบคู่ไปกับการเรียนรู้จากการตั้งปัญหาหรือ PBL (problem-based learning) จนเกิดความรู้ความเข้าใจ และสามารถต่อยอดด้วยความคิดสร้างสรรค์ สอดคล้องกับปณิธานของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงในการสร้างคน สร้างความรู้ และสร้างคุณภาพ

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
สำนักวิชานวัตกรรมสังคม ได้กำหนดวัตถุประสงค์ของการจัดหลักสูตร ศศ.บ.(การพัฒนาระหว่างประเทศ) เพื่อบ่มเพาะและฝึกฝนให้บัณฑิตมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

  1. มีความรู้ในทางทฤษฎี หลักการ และความสามารถในทางปฏิบัติการในสาขาการพัฒนาระหว่างประเทศเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานในประเทศ ระดับภูมิภาค และนานาชาติ 
  2. มีความสามารถในการแสวงหาและประยุกต์ใช้องค์ความรู้ด้านการพัฒนาระหว่างประเทศได้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ 
  3. ความสามารถในการคิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาเป็นผ่านการวิจัยอย่างเป็นระบบด้วยตนเอง
  4. มีทักษะในการดำเนินชีวิตและตระหนักถึงคุณธรรมจริยธรรมที่เหมาะสมตามบทบาทของตน 

  1. นักศึกษาในหลักสูตรมีโอกาสเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนระยะสั้น และการศึกษาดูงานในมหาวิทยาลัยคู่สัญญาในต่างประเทศโดยได้รับการสนับสนุนทุนบางส่วนจากมหาวิทยาลัย
  2. สำนักวิชานวัตกรรมสังคมมีศูนย์วิจัยนวัตกรรมสังคมเชิงพื้นที่ และศูนย์วิจัยเอเชียเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ เป็นหน่วยงานสนับสนุนการเรียนรู้ผ่านงานวิจัยและกิจกรรมทางวิชาการที่สร้างประสบการณ์ตรงให้แก่นักศึกษาได้

  1. ภาคราชการ ในตำแหน่ง ปลัดอำเภอ / นักการทูตปฏิบัติการ / นักวิเทศสหการ / นักวิเทศสัมพันธ์ / นักวิเคราะห์นโยบายและแผน (ตามระเบียบสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551)
  2. ผู้ประสานงานโครงการพัฒนา/เจ้าหน้าที่ประจำโครงการ ประจำองค์การระหว่างประเทศ องค์การพัฒนาเอกชน หรือ ฝ่าย Corporate Social Responsibility (CSR) ของบริษัทเอกชน
  3. นักวิจัยด้านการพัฒนาสังคมในสถาบันวิจัย / ศูนย์วิจัยในมหาวิทยาลัย หรือหน่วยงานคลังสมอง (Think tank) ทั้งในและต่างประเทศ
  4. ผู้ประกอบการขององค์กรธุรกิจเพื่อสังคม (Social enterprise)
  5. สื่อมวลชนด้านการต่างประเทศ และด้านการพัฒนาสังคม

  • PLO 1 อธิบายสาระสำคัญของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติและการประยุกต์ใช้
  • PLO 2 ประยุกต์ใช้แนวคิด ทฤษฎีทางสังคมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระหว่างประเทศ
  • PLO 3 แสดงออกซึ่งทักษะการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์
  • PLO 4 แสดงออกซึ่งคุณธรรม จริยธรรมทางวิชาการและวิชาชีพและความเห็นอกเห็นใจ (Empathy) ในความไม่เท่าเทียมและความเหลื่อมล้ำในการพัฒนา 
  • PLO 5 ปฏิบัติงานภาคสนามด้านการพัฒนา
  • PLO 6 ทำงานร่วมกับผู้อื่นโดยเข้าใจบทบาทของตน ทั้งในฐานะผู้นำและผู้ปฏิบัติตาม

  • ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร 280,000 บาท
  • ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 35,000 บาท

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 129 หน่วยกิต (หลักสูตร 4 ปี)
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 24 หน่วยกิต
     
2. หมวดวิชาเฉพาะ 93 หน่วยกิต
  1) กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ 33 หน่วยกิต
  2) กลุ่มวิชาชีพบังคับ 42 หน่วยกิต
  3) กลุ่มวิชาชีพเลือก 24 หน่วยกิต
       
3. หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต