About Ab-SIRC

Area-based-Social Innovation Research Center (Ab-SIRC)

ความเป็นมา

ศูนย์วิจัยนวัตกรรมสังคมเชิงพื้นที่ (Area-based-Social Innovation Research Center (Ab-SIRC)) สำนักวิชานวัตกรรมสังคม จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2558 โดยมุ่งหวังให้ศูนย์วิจัยนวัตกรรมสังคมเชิงพื้นที่ (Area-based-Social Innovation Research Center (Ab-SIRC) เป็นพื้นที่สำหรับอาจารย์และนักวิชาการ รวมถึงผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ชายแดน ได้มีโอกาสทำงานวิจัยร่วมกัน และนำความรู้จากงานวิจัยไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน และการปฏิบัติงานจริงในพื้นที่

เนื่องจาก เชียงรายเป็นจังหวัดชายแดนด้านเหนือของประเทศไทย มีพื้นที่ติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน 2 ประเทศ คือ ลาวและพม่า การที่เชียงรายเป็นจังหวัดชายแดนทำให้เชียงรายมีคุณสมบัติพิเศษที่แตกต่างจากจังหวัดอื่น รวมทั้งมีปัญหาและความท้าทายที่แตกต่างจากจังหวัดอื่นด้วย

การที่ประเทศไทยเป็นสมาชิกของ ASEAN และ ASEAN กำลังก้าวสู่ความเป็น “ประชาคม” ในปี 2015 จะมีผลทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้างและความสัมพันธ์ ทั้งระดับรัฐชุมชนและบุคคลอย่างมากมาย จังหวัดเชียงรายในฐานะจังหวัดชายแดนย่อมจะได้รับผลโดยตรงจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการจัดการพื้นที่ชายแดน ทั้งด้านความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ระบบการผ่านแดนของสินค้าและบุคคล เพื่ออำนวยความสะดวก การลงทุน และการผลิตข้ามแดน เป็นต้น ในเวลาเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงในเรื่องโครงสร้างและความสัมพันธ์ระดับรัฐยังมีผลต่อวิถีชีวิตของชุมชนและบุคคลด้วย การปรับตัวและการเปลี่ยนแปลง เพื่อรองรับกับสิ่งแวดล้อมใหม่เป็นสิ่งจำเป็นมากและต้องการการเตรียมการไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ความรู้ ฝีมือแรงงาน และระบบการจัดการ

นอกเหนือจากการเป็นจังหวัดชายแดนภายใต้โครงสร้างการปกครองของรัฐสมัยใหม่และเชียงรายในฐานะพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ ยังเผชิญกับความท้ายทายใหม่ๆด้วย ภัยพิบัติต่างๆที่เกิดขึ้นในระยะเวลา 1-2 ปีนี้ แสดงให้เห็นว่า เชียงรายเป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อภัยพิบัติต่างๆมาก ในขณะที่การตระหนักรู้และเตรียมการเพื่อรับมือยังมีไม่มากนัก ในอีกด้านหนึ่งเชียงรายเป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติทั้งป่าไม้และน้ำ การจัดการทรัพยากรเหล่านี้อย่างยั่งยืน เป็นความท้าทายที่สำคัญของคนในพื้นที่ ทั้งบุคลากรในภาครัฐและคนในชุมชนเอง ซึ่งวิธีการดำเนินการในเรื่องนี้จะต้องประสานความแตกต่างของแนวคิดและทิศทางในการพัฒนาพื้นที่และการจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน เพื่อให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตและสภาพแวดล้อมของพื้นที่ให้ได้เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงหรือลดความขัดแย้งลง

ในขณะเดียวกัน เมื่อมองไปที่ทิศทางการพัฒนาประเทศโดยภาพรวมจะพบว่าแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ได้ตั้งเป้าหมายให้ประเทศมีการพัฒนาโดยเน้นการเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน มีการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้วยการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายในเวลาเดียวกัน ด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่ประเทศไทยตั้งอยู่ ทำให้ประเทศมีความจำเป็นต้องพัฒนาโครงสร้างที่เชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมและบนทิศทางดังกล่าวนี้ จังหวัดเชียงรายจำเป็นต้องก้าวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนานั้น

วัตถุประสงค์

  • เพื่อผลิตงานวิจัยที่เป็นนวัตกรรมสังคมสร้างองค์ความรู้เชิงบูรณาการ และสร้างเครื่องมือในการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน การใช้ทรัพยากรร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน เพื่อสร้างสันติสุขและสันติภาพแก่สังคมและโลกเพื่อแก้ไขปัญหาคุณภาพชีวิต สังคม และวัฒนธรรมเชิงบูรณาการ
  • เพื่อนำองค์ความรู้ไปถ่ายทอดบริการวิชาการแก่สังคม เป็นตัวกลางในการทำให้เกิดการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงองค์กร เพื่อสร้างสังคมเป็นสังคมที่สร้างสรรค์เพื่อนำองความสามรู้ไปถ่ายทอดบริการวิชาการแก่สังคม เป็นตัวกลางในการทำให้เกิดการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงองค์กร เพื่อสร้างสังคมเป็นสังคมที่สร้างสรรค์
  • เพื่อสนับสนุนการผลิตบัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต ให้มีความคิดสร้างสรรค์ และทักษะในการบริหารจัดการสังคมโดยมีเครื่องมือในการทำงานด้านการพัฒนาสังคมข้ามพรมแดน เพื่อนการพัฒนาประเทศภูมิภาคและโลก
  • เพื่อเป็นพื้นที่ทางวิชาการสำหรับสร้างนักวิจัยและเครือข่ายการวิจัยทั้งในและต่างประเทศ ผลิตวารสารทางวิชาการ จัดประชุมสัมมนาและกิจกรรมทางวิชาการที่ ในแนวทางนวัตกรรมทางสังคม

ภารกิจหลัก

  • สร้างความรู้ผ่านการวิจัยด้านชายแดนศึกษา
  • ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนและสังคมในกระบวนการพัฒนาพื้นที่จังหวัดเชียงราย
  • ให้บริการวิชาการแก่สังคม
  • เป็นพื้นที่ทางวิชาการสำหรับสร้างนักวิจัยเครือข่ายทางวิชาการ

โครงสร้างการบริหาร